Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

4. ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

4. ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        ลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ พอจะสรุปได้ดังนี้
        4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์พยายามอธิบายเหตุการณ์ในอดีตเพื่อประโยชน์ของการอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้
        4.2 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มักไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่จะใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลเพื่อตีความหมายข้อมูลและสรุปผล
        4.3 ลักษณะข้อมูลของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะเป็นหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตและข้อมูลส่วนใหญ่จะได้มาจากแหล่งทุติยภูมิมากกว่าแหล่งปฐมภูมิ
        4.4 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่ใช้เอกสารและห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงอาจเรียกการวิจัยนี้อีกอย่างหนึ่งว่า การวิจัยเอกสาร (Documentary research) หรือการวิจัยห้องสมุด (Library research)
        4.5 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ผู้วิจัยไม่สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อทดสอบผลการวิจัยได้
        4.6 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ผู้วิจัยไม่มีส่วนร่วมในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่นำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาวิเคราะห์เท่านั้น
        4.7 หลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์นั้นเกิดขึ้นเองตามเหตุการณ์ ไม่สามารถจัดให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้วิจัยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น