Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่พยายามวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาข้อเท็จจริงในอดีต นักวิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ชนิดคือ
        1.1 การศึกษาเป็นรายกรณี เป็นการศึกษาที่ชี้เฉพาะลงไปโดยอาจศึกษากับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสถาบัน เอกสารหรือกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้
        1.2 การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาความแตกต่างของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในระยะใดระยะหนึ่ง โดยอาจศึกษาเหตุการณ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนของเหตุการณ์นั้นก็ได้
        1.3 การศึกษาความเปลี่ยนแปลง การศึกษาแบบนี้คล้ายคลึงกับแบบที่สอง แต่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายทางการศึกษา โดยในอดีตการศึกษาต้องการเตรียมคนเข้ารับราชการ แต่ปัจจุบันเป็นการเตรียมคนเข้าประกอบอาชีพต่าง ๆ หลายอาชีพ ไม่ชี้เฉพาะแต่การเข้ารับราชการเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น